บัตรพลาสติก RFID ย่อมาจาก Radio-Frequency-IDentification หรือก็คือบัตรพลาสติกที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency) ซึ่งดูจากภายนอกก็จะเห็นว่าเป็นเหมือนบัตรพลาสติกธรรมดาทั่วไป แต่ภายในเนื้อบัตรจะมีการฝังไมโครชิพ และเสาอากาศในการส่งสัญญาณไว้ภายใน การใช้งานจะเป็นการนำบัตรมาวางไว้ใกล้ๆเครื่องอ่าน โดยไมโครชิพจะรับพลังงานผ่านคลื่นความถี่วิทยุ และส่งสัญญานกลับไปยังเครื่องอ่านอีกครั้งหนึ่ง (Passive) ในหลายกรณีเราจะเรียกบัตรชนิดนี้ว่า Contactless Smart Card หรือบัตรสมาร์ทการ์ดแบบไร้สัมผัส
หากจะพูดถึงเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency – RF) นั้น จะมีการกำหนดระดับความถี่ไว้หลากหลายประเภท โดยมีหน่วยวัดเป็น Hz (Hertz) ในบทความนี้เรานำเพียงบางส่วนที่เกี่ยวข้องและเป็นที่นิยมใช้ในรูปแบบบัตรประจำตัวพลาสติกเท่านั้น คลื่นความถี่ที่นิยมใช้ในรูปแบบ Contactless Smart Card จะแบ่งเป็น
เทคโนโลยีการพิมพ์บัตรพลาสติกด้วยหัวพิมพ์ความร้อน มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ Direct-to-Card และ Retransfer Printing ในแง่ของฟังชั่นการทำงานของ ไมโครชิพ RFID ที่อยู่ในเนื้อบัตร จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์บัตรทั้งสองประเภทนี้ การเลือกใช้เครื่องพิมพ์จะอยู่ที่ผลลัพธ์ด้านรูปภาพและคุณภาพการพิมพ์ที่ออกมามากกว่า
เนื่องจากบัตร RFID นั้นมีไมโครชิพ และเสาอากาศ ฝังอยู่ในเนื้อบัตร การผลิตบัตรทำโดยการใช้แผ่น PVC สองแผ่น ประกบติดเข้าด้วยกัน โดยมีไมโครชิพ และเสาอากาศอยู่ตรงกลาง (เหมือนแฮมเบอร์เกอร์) ดังนั้น หากเนื้อแผ่น PVC มีความบาง หรือนุ่มเกินไป หลังจากประกบติดเข้าด้วยกันแล้ว พื้นผิวของบัตรบริเวณที่มีไมโครชิพ และเสาอากาศ อาจมีความยุบ หรือความนูนเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะสังเกตุด้วยตาเปล่าไม่เห็น
ในกรณีนี้ หากบัตรที่ได้มา มีเนื้อบัตรที่บาง อาจจะเนื่องด้วยปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต เพื่อให้ได้ราคาบัตรที่ถูกลง การนำมาพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์บัตรเทคโนโลยี Direct-to-Card ที่มีการพิมพ์โดยหัวพิมพ์ต้องรีดลงไปที่ผิวบัตรโดยตรง อาจจะต้องมีข้อควรระวังบางประการ ภาพด้านล่างนี้คือตัวอย่าง กรณีการพิมพ์สีเต็มใบ ลงบนบัตร RFID ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ในกรณีนี้ หากบัตรที่ได้มา มีเนื้อบัตรที่บาง อาจจะเนื่องด้วยปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต เพื่อให้ได้ราคาบัตรที่ถูกลง การนำมาพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์บัตรเทคโนโลยี Direct-to-Card ที่มีการพิมพ์โดยหัวพิมพ์ต้องรีดลงไปที่ผิวบัตรโดยตรง อาจจะต้องมีข้อควรระวังบางประการ ภาพด้านล่างนี้คือตัวอย่าง กรณีการพิมพ์สีเต็มใบ ลงบนบัตร RFID ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จะสังเกตุว่า ตำแหน่งที่เป็นไมโครชิพ และเสาอากาศ จะมีรอยด่าง ที่เกิดจากผิวบัตรที่ไม่เรียบ มีรอยยุบ รอยนูน ทำให้หัวพิมพ์รีดสีลงบนผิวบัตรได้ไม่เสมอกัน |
หากผู้ใช้งาน จำเป็นที่ต้องใช้เครื่องพิมพ์บัตรแบบ Direct-to-Card ในการพิมพ์ เราขอแนะนำให้ลองปรับดีไซน์ของบัตร เน้นเป็นการใช้พื้นหลังสีขาว หลบเลี่ยงการพิมพ์สีลงในตำแหน่งที่เป็นไมโครชิพ ปรับดีไซน์ วางตำแหน่งโลโก้ และรูปภาพ ให้เหมาะสมก็สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา แต่หากผู้ใช้งานต้องการเน้นคุณภาพการพิมพ์สีเต็มใบ บนบัตร RFID เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์บัตรประเภทนี้คือ Retransfer Printing
เนื่องจากการพิมพ์แบบ Retransfer นั้น สีจะถูกหัวพิมพ์พิมพ์ลงบนแผ่นฟิล์มใสก่อน การนำภาพจากฟิล์มใสมาลงหน้าบัตรจะถูกทำให้เกิดขึ้นโดยการใช้ลูกยาง ทำความร้อนระดับสูง รีดสีจากฟิล์มย้อมไปที่ผิวบัตร ต่างจากการพิมพ์ Direct-to-Card ตรงที่หัวพิมพ์ที่เป็นของแข็งแบบเรียบจะรีดระนาบไปโดยตรงบนบัตร
การใช้ลูกยางทำความร้อนรีดสีจากฟิล์มลงผิวบัตร ทำให้การพิมพ์ลงพื้นผิวที่แม้จะมีรอยยุบ รอยนูนเล็กๆน้อยๆ สามารถพิมพ์ลงไปได้อย่างสมบูรณ์ หัวพิมพ์ไม่มีการสัมผัสใดๆไปที่ตัวบัตรโดยตรง
หากคุณกำลังมองหาเครื่องพิมพ์บัตรพลาสติก สำหรับองค์กร และกำลังตัดสินใจเลือกเครื่องพิมพ์ที่เหมาะสมทั้งในด้านงบประมาณ คุณภาพ และการใช้งาน ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเช่นเรา