ระบบควบคุมการเข้า-ออก ถือเป็นอีกหนึ่งระบบรักษาความปลอดภัยที่สำคัญในอาคาร สำหรับองค์กร เพื่อกำหนดสิทธิ์การผ่านเข้าออก ให้บุคคลที่เข้ามาในพื้นที่ รวมถึงตรวจตรา แจ้งเตือน และเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ เช่น ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย ระบบตรวจสอบความเคลื่อนไหว และผู้บุรุก
ระบบ access control คือระบบควบคุมการเข้าออกพื้นที่ต่างๆ โดยกำหนดสิทธิให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ ถ้าลองมองดูในชีวิตประจำวันก็จะสามารถเห็นได้ทั่วไป เช่น การใช้กุญแจล๊อค โดยคนที่มีกุญแจเท่านั้นจึงจะเปิดประตูได้ การขาย/แจกบัตรเข้าชมกีฬาที่ต้องมีการขอตรวจบัตรก่อนจึงจะเข้าได้ การใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งาน application หรือประตูดิจิตอล จะเห็นได้ว่าเป็นการควบคุมการอนุญาตผ่านเข้า-ออกในหลายรูปแบบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นระบบ access control ทั้งสิ้น
แต่ถ้าหากกล่าวถึงระบบ access control แบบอัตโนมัติ สำหรับอาคาร สำนักงาน พื้นที่ที่มีประตู หรือจุดคัดกรองบุคคล องค์ประกอบของระบบอาจแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ และในราคาที่เหมาะสมกับความต้องการถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพื่อเป็นการป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในระบบรักษาความปลอดภัยอีกด้วย
Accountability: ผู้ดูแลระบบ หรือผู้ที่ได้รับสิทธิอนุญาต สามารถตรวจตราดูแลเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ทั้งแบบ real-time หรือเรียกดูรายงานย้อนหลัง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์การผ่านเข้าออกของแต่ละบุคคล เหตุการณ์ไม่ปกติต่างๆ เช่น การเปิดประตูโดยไม่ได้รับอนุญาต อุปกรณ์ถูกงัดแงะ มีการเปิดประตูทิ้งไว้นานเกินเวลาที่กำหนด การแจ้งเตือนจากสัญญาณอัคคีภัย หรือสัญญาณเตือนจากระบบความปลอดภัยอื่นๆ เป็นต้น
Security: ความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้น หากเทียบกับการใช้กุญแจที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ถือกุญแจได้ และกุญแจอาจมีการนำไปทำซ้ำ ปลอมแปลง สูญหาย ซึ่งสามารถยกระดับข้อจำกัดนี้ได้ด้วยการใช้บัตรสมาร์ดการ์ด RFID ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยป้องกันการปลอมแปลง หากบัตรสูญหาย ผู้ดูแลระบบสามารถยกเลิก หรือลบบัตรออกจากระบบได้ทันที รวมถึงการใช้สิ่งแทนตนในการยืนยันตัวตนรูปแบบอื่นๆ เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า การกดรหัส หรือ การใช้ multi-factor authentication
Flexibility: ผู้ดูแลระบบ สามารถกำหนดสิทธิ สร้างกฎการผ่านเข้าออก ได้อย่างไม่จำกัด เพื่อกำหนดสิทธิให้เฉพาะแต่ละบุคคล ที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป จำกัดเวลาเข้าออกแต่ละคนที่แตกต่างกัน ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ได้อย่างอิสระ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ผ่านการควบคุมทางเครือข่าย
Trend for Convergent System: นอกจากการใช้งานระบบ access control เพื่อควบคุมการผ่านเข้าออกประตูแล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ในระบบอื่นๆ เช่น ระบบไม้กั้นรถยนต์ ระบบควบคุมลิฟท์ ระบบบันทึกเวลาทำงาน การยืนยันตัวตนเข้าใช้งาน Windows PC ระบบ visitor management การเชื่อมโยงกับระบบกล้องวงจรปิด, ระบบเตือนภัยผู้บุกรุก, ระบบป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น
สิ่งที่ทางบริษัทฯ เชี่ยวชาญคือการให้คำปรึกษา ออกแบบระบบความปลอดภัย access control system ที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ในหนึ่งระบบ access control นั้นจะมีองค์ประกอบทั้งทางด้านอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่นำมาใช้หลากหลาย และแตกต่างกันไปตามความต้องการ โดยหลักแล้ว จะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้
ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น สำหรับบริหารจัดการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ กำหนดสิทธิ์ รับค่าการแจ้งเตือน ตรวจตราข้อมูล และเชื่อมต่อระบบอื่นๆ ในห่วงโซ่ระบบรักษาความปลอดภัย
คืออุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อระบุตัวตนผู้ถือบัตร และควบคุมสิทธิ์ในการผ่านเข้า หรือ ออก เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชุดล๊อค และเครื่องอ่านบัตร เครื่องสแกนนิ้ว หรืออุปกรณ์ระบุตัวตนอื่นๆ
ชุดล๊อคกลอนแม่เหล็ก ทำหน้าที่ล๊อค/ปลดล๊อคประตู และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ชุด door sensor เช็คสถานะเปิด/ปิดประตู, ปุ่ม exit, ชุดปลดล๊อคประตูฉุกเฉิน เป็นต้น
เครื่องอ่านข้อมูลบุคคลเพื่อยืนยันตัวตน สามารถเป็นได้ทั้งการอ่านบัตร RFID, ปุ่มกด Keypad, เครื่องสแกนลายนิ้วมือ หรือเครื่องตรวจจับใบหน้า
สิ่งแทนตัวที่ใช้ในการยืนยันตัวตน เช่น บัตร RFID, ลายนิ้วมือ, รหัส PIN หรือ สมาร์ทโฟน
อันดับแรกคือ สิ่งที่เราใช้แทนตัวเพื่อยืนยันกับระบบว่าเราคือใคร ถ้าง่ายที่สุดคือ บัตรประจำตัวนั่นเอง แต่ความเป็นจริงแล้ว ในชีวิตประจำวันเราอาจจะมี credential ได้หลากหลาย เช่น บัตรประชาชน, ใบขับขี่, passport, รหัส ATM, รหัส login เข้า PC เป็นต้น ซึ่งในระบบ access control เองก็เช่นกัน โดยทั่วไป เราสามารถแบ่ง credential หลักๆ ได้ 3 รูปแบบ และการนำแต่ละรูปแบบมาใช้ร่วมกันเพื่อความปลอดภัยที่มากขึ้น หรือที่เรียกว่า multi-factor
สิ่งที่มีเพียงผู้ใช้เท่านั้นที่มี เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด, Token, โทรศัพท์มือถือ, tablet
สิ่งที่มีเพียงผู้ใช้เท่านั้นที่รู้ เช่น Password, Passphrase, PIN Code
สิ่งที่ผู้ใช้เป็น เช่น ลายนิ้วมือ, IRIS Scan, รูปร่างกายภาพของมือ
อุปกรณ์ในการตรวจสอบความถูกต้องการยืนยันตัวตนด้วย credentials รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การอ่านบัตร, การกดรหัส, การสแกนลายนิ้วมือ หรือใบหน้า เป็นต้น อุปกรณ์เครื่องอ่านนี้สามารถมีตัวเลือกได้อย่างหลากหลาย มีทั้งที่เป็นแบบ Stand-Alone (ไม่จำเป็นต้องมี controller) หรือ เครื่องอ่านที่ต้องต่อพ่วงกับชุด controller และในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน สามารถรองรับการอ่านค่า credential ได้มากกว่า 1 รูปแบบ
อุปกรณ์ทำหน้าที่ในการล๊อค หรือปลดล๊อคกลอนในรูปแบบต่างๆ เช่น กลอนแม่เหล็ก, dropbolt เป็นต้น โดยทั่วไปทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าต่ำ 12 - 24V DC มีรูปแบบ การล๊อคประตู สองรูปแบบคือ
สำหรับระบบ access control ทั่วไปจะนิยมใช้ในรูปแบบ fail-safe คือเมื่อมีการตัดกระแสไฟ ประตูจะปลดล๊อค
ทำหน้าที่ปลดล๊อคกลอน หรืออุปกรณ์ล๊อคประตูจากทางฝั่งด้านใน (secured side) โดยทั่วไปอาจจะเรียกว่า exit button ในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบปุ่มกด และแบบไร้สัมผัส รวมถึงอุปกรณ์ปลดล๊อคประตูฉุกเฉิน (emergency break glass) ซึ่งจำเป็นต้องมีตามมาตรฐานความปลอดภัย
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บอกสถานะการเปิด หรือปิดของประตูแบบ real-time บางกรณีอาจจะเรียกว่า Door Position Switch (DPS) หรือ Door Switch Magnet (DSM) ซึ่งทำการเชื่อมต่อโดยตรงไปยัง controller เพื่อส่งสัญญาณให้ controller ทราบถึงสถานะการเปิด/ปิดประตู โดยชุดอุปกรณ์สามารถมีได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของชนิดประตูที่ต้องการติดตั้ง
Controller ในระบบ access control เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆของตำแหน่งเข้าออกแต่ละตำแหน่งเข้าด้วยกัน และทำหน้าที่กำหนดคำสั่งการทำงานของอุปกรณ์เหล่านั้น เช่น ปลดล๊อคกลอนแม่เหล็ก หรือสั่งให้ล๊อคกลอนแม่เหล็ก ซึ่งอาจจะเป็นการรับคำสั่งจากซอตฟ์แวร์การจัดการ หรือเป็นการตัดสินใจเองตามคำสั่งที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในตัว controller ได้เอง
ถ้าเปรียบเทียบ อุปกรณ์ controller จะเปรียบเสมือนหัวใจ ที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และในส่วนของ Management Software ก็จะเปรียบเสมือนมันสมองที่ทำหน้าที่คิด ประมวลผล และจดจำสิ่งต่างๆ หน้าที่โดยทั่วไปของ Management Software คือ